วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วัน พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555
 -วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานและให้แก้ไขงาน
    หนังสือนิทาน มัน คือ อะไร
    บัตรคำ

คำแนะนำ
-ตัวหนังสือควรให้อยู่ตรงกลาง
-ภาพที่วาดกับคำควรให้สอดคล้องกัน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2555

วันนี้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่เเล้ว

-หัวข้อ ใน บ้าน มี อะไร
-อาจารย์ได้คอมเมนต์ของแต่ละกลุ่ม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

นำเสนองานที่ทำเเละCommentงาน
ข้อเเนะนำในการเสนองาน
-ตัวอักษรต้องใหญ่เเละชัดเจน
-ควรหารูปภาพให้หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เลือก
-ถ้าเด็กเขียนผิดเราควรเเนะนำเด็กให้เขียนถูก
-ภาพกับคำควรให้ตรงกัน
-ในการทำเราควรสร้างข้อตกลงกับเด็กก่อนว่าควรติดบริเวณใหน

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 12


วันเสาร์ที่ 18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 เรียนชดเชย

          อาจารย์ได้แจกกระดาษเพื่อให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้หนึ่งรูปเพื่อทำกิจกรรม รูปภาพเชื่อมคำ วาดรูปแทนคำ พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่าทางประกอบ ทำท่าทางของเพื่อนแล้วทำของตัวเองเด็กจะได้การจำ การสังเกต การฟัง เวลาที่จะสอนให้เด็กรู้จักคำว่าขอบคุณ ขอโทษ เราจะใช้สื่ออะไรได้บ้าง เช่นใช้บทเพลงเป็นสื่อ และ เด็กใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าว ดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ(Whole Language)ซึ่งได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการสอนภาษาไว้ดังนี้ (Goodman and Goodman1981)
1 จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสารอย่างมีความหมาย
2 จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
3 จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์การเขียนเน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย

ลักษณะของภาษา

เนื้อหาของภาษา(Language Content)ได้แก่ หัวข้อเนื้อหา เรื่องหรือความหมายของสารท่จะใช้สื่อกับคนอื่น ประกอบด้วย ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ความสัมพันธ์ ดังนี้

เนื้อหาของภาษา

ชื่อ ชื่อเฉพาะ เช่น อาคาร
        ชื่อทั่วไป เช่น สุนัข

ความสัมพันธ์ บอกความเป็นอยู่ เช่น ขนมชิ้นนี้
                           บอกลักษณะ         เช่น บอลลูกใหญ่

เหตุการณ์        เวลาและเหตุผล   เช่น หิวจึงกิน
                           ความรู้ ความรู้สึก เวลา เช่น เมื่อวานนี้

รูปแบบของภาษา

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ คำที่มีความหมายและซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วย ลำดับคำ หรือประโยค

 พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว



บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่11

วันพฤหัสบดีที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานกีฬาสีและได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพคือ

      เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และถ้าเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือเปล่า

       การสร้างภาพปริศนาคำทาย

1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

-ได้ฟังนิทานจาก Ebook
 เทคนิคในการเล่านิทาน

1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมาเป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ
2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและ
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมีเอ้อ อ้า ที่นี้ 6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องมีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้นทำท่าจริงจัง

*ในการถามคำถามเด็ก ควรตั้งคำถามที่เปิดกว้าซึ่งจะทำให่เด็กมีอิสระในการตอบ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 9

       วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 8

วันพฤหัสบดีที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2555


        มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น      โดย-  ฟังและพูด  ไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก
            บลูมเเละฮาเลย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ

 1 .ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่ใช้เเทนสิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ เเละเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เด็กกินขนม
2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติ เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความโศกเศร้า
3. ภาษาเป็นระบบ ภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม

    จึงสรุปได้ว่า ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเเละทำความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 7

วันอาทิตย์ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2555

    - วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์ โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และ อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อก
*คัดลอกงานจาก นางสาวดาราวรรณ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 6


 วันพฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ.2555


-นำเสนอ VDO การเล่านิทานให้เด็กฟังพร้อมตั้งคำถาม 3 ข้อ


บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555

     -วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Powerpoin เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้น้องฟังเเล้วนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย        • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะ ได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 29 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

   - อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนเขียนภาษาถิ่นของตัวเองส่ง อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะว่าอาจารย์ จะไปร่วมกิจกรรมงานปีใหม่ของน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เดือนธันวาคม พ.ศ.2554

           -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
           - ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมี ความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับ เด็ก
              กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก

งานที่ได้รับมอบหมาย
           -ให้เล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก    และบันทึกมาส่งอาจารย์
           -ให้หา นักการศึกษาที่พูดเกี่ยวกับเรื่องของภาษามา 1 คน  ว่าเค้ากล่าวไว้ว่าอย่างไร
*  อาจารย์ได้แนะนำให้ไปอ่าน  จิตวิทยาการเรียนรู้ ในการเรียนการสอนมีอะไรบ้าง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 2

วันพฤหัสบดี ที่ 15 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2554

           วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
-การจัดประสบการณ์ทางภาษาคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และคือพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธี การเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสะในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูก
-การจัดประสบการณ์ มีเทคนิค  การประเมิน  รูปแบบ สื่อหลักการ ขั้นตอน

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กพร้อมวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงาน

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

การเสริมประสบการณ์ทางภาษา

พัฒนาการ
คือ การเปลี่ยนเเปลที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเเละขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดของพ่อเเม่เเต่ละคน