วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วัน พฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555
 -วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานและให้แก้ไขงาน
    หนังสือนิทาน มัน คือ อะไร
    บัตรคำ

คำแนะนำ
-ตัวหนังสือควรให้อยู่ตรงกลาง
-ภาพที่วาดกับคำควรให้สอดคล้องกัน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2555

วันนี้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่เเล้ว

-หัวข้อ ใน บ้าน มี อะไร
-อาจารย์ได้คอมเมนต์ของแต่ละกลุ่ม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

นำเสนองานที่ทำเเละCommentงาน
ข้อเเนะนำในการเสนองาน
-ตัวอักษรต้องใหญ่เเละชัดเจน
-ควรหารูปภาพให้หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เลือก
-ถ้าเด็กเขียนผิดเราควรเเนะนำเด็กให้เขียนถูก
-ภาพกับคำควรให้ตรงกัน
-ในการทำเราควรสร้างข้อตกลงกับเด็กก่อนว่าควรติดบริเวณใหน

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 12


วันเสาร์ที่ 18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 เรียนชดเชย

          อาจารย์ได้แจกกระดาษเพื่อให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้หนึ่งรูปเพื่อทำกิจกรรม รูปภาพเชื่อมคำ วาดรูปแทนคำ พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่าทางประกอบ ทำท่าทางของเพื่อนแล้วทำของตัวเองเด็กจะได้การจำ การสังเกต การฟัง เวลาที่จะสอนให้เด็กรู้จักคำว่าขอบคุณ ขอโทษ เราจะใช้สื่ออะไรได้บ้าง เช่นใช้บทเพลงเป็นสื่อ และ เด็กใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าว ดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ(Whole Language)ซึ่งได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการสอนภาษาไว้ดังนี้ (Goodman and Goodman1981)
1 จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสารอย่างมีความหมาย
2 จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
3 จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์การเขียนเน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย

ลักษณะของภาษา

เนื้อหาของภาษา(Language Content)ได้แก่ หัวข้อเนื้อหา เรื่องหรือความหมายของสารท่จะใช้สื่อกับคนอื่น ประกอบด้วย ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ความสัมพันธ์ ดังนี้

เนื้อหาของภาษา

ชื่อ ชื่อเฉพาะ เช่น อาคาร
        ชื่อทั่วไป เช่น สุนัข

ความสัมพันธ์ บอกความเป็นอยู่ เช่น ขนมชิ้นนี้
                           บอกลักษณะ         เช่น บอลลูกใหญ่

เหตุการณ์        เวลาและเหตุผล   เช่น หิวจึงกิน
                           ความรู้ ความรู้สึก เวลา เช่น เมื่อวานนี้

รูปแบบของภาษา

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ คำที่มีความหมายและซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วย ลำดับคำ หรือประโยค

 พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว



บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่11

วันพฤหัสบดีที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานกีฬาสีและได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพคือ

      เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และถ้าเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือเปล่า

       การสร้างภาพปริศนาคำทาย

1 เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
4 นำมาจัดเรียงลำดับ
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ

เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

-ได้ฟังนิทานจาก Ebook
 เทคนิคในการเล่านิทาน

1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมาเป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ
2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและ
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมีเอ้อ อ้า ที่นี้ 6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องมีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้นทำท่าจริงจัง

*ในการถามคำถามเด็ก ควรตั้งคำถามที่เปิดกว้าซึ่งจะทำให่เด็กมีอิสระในการตอบ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งทีุุุ่ 9

       วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว